ชีวิตในวัยเด็ก ของ มะลาละห์ ยูซัฟซัย

วัยเด็ก

Yousafzai กับ Ziauddin พ่อของเธอในปี 2013จากซ้ายไปขวา: มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์, เนลสัน แมนเดลา และ มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ สร้างแรงบันดาลใจแก่ยูซัฟซัย

ยูซาฟไซ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ใน เขตสวาท ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ในแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควาเธอเกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง[12] และเป็นลูกสาวของนายไซอุดดิน ยูซาฟไซ และ Tor Pekai Yousafzai[13] ครอบครัวของเธอมีเชื้อสายปาทาน และนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี[14] ครอบครัวของเธอไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการคลอดที่โรงพยาบาลและทำให้ยูซาฟไซเกิดที่บ้านด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน[15] ชื่อแรกของเธอมะลาละห์ (หมายถึง "ความเศร้าโศกเสียใจ")[16] ถูกตั้งตาม มาลาไล แห่งไมวันด์ (Malalai of Maiwand) ซึ่งเป็นกวีชาวปาทานผู้มีชื่อเสียงจากและเป็นนักรบหญิงจากทางใต้ของอัฟกานิสถาน[17] ส่วนนามสกุลของเธอคือ ยูซาฟไซ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าปาทาน (Pashtun) ขนาดใหญ่ในหุบเขาสวาทของปากีสถาน มาลาละห์อาศัยอยู่ที่บ้านของเธอในเมืองมินโกร่ากับน้องชายสองคนของเธอ (Khushal และ Atal) พ่อแม่ของเธอ และไก่สองตัว

ยูซาฟไซสามารถพูด ภาษาปาทาน ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อของเธอซึ่งเป็นทั้งกวี เจ้าของโรงเรียน และนักเคลื่อนไหวด้านการศึกษา เป็นคนสอนหนังสือให้เธอ

ในการให้สัมภาษณ์ยูซาฟไซ เคยกล่าวไว้ว่าเธอปรารถนาที่จะเป็นหมอ แต่ต่อมาพ่อของเธอสนับสนุนให้เธอกลายเป็นนักการเมืองแทน[18] โดยนายไซอุดดินพูดถึงลูกสาวของเขาว่า เธอเป็นคนที่พิเศษ เพราะสามารถพูดคุยเรื่องการเมืองได้ทั้งคืน หลังจากที่พี่ชายทั้งสองคนเข้านอนแล้ว[19]

ยูซาฟไซเริ่มพูดเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2008 หลังจากได้รับแรงบันดาลใจจากมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ และ นายกรัฐมนตรีเบนาซีร์ บุตโต เมื่อพ่อของเธอพาเธอไปเมืองเปศวาร์ เพื่อพูดที่ชมรมสื่อท้องถิ่น[20] เธอกล่าวว่า "ตอลิบานกล้าเอาสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐานของฉันไปได้อย่างไร" ซึ่งคำพูดของเธอถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และช่องโทรทัศน์ทั่วทั้งภูมิภาค[21]

ในปี 2009 ยูซาฟไซเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฝึกหัดและเป็นนักการศึกษาใน สถาบันการรายงานสงครามและสันติภาพ ของโครงการเยาวชนเปิดใจของปากีสถานในโรงเรียนในภูมิภาคเพื่อช่วยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมผ่านสื่อ การอภิปรายสาธารณะ และการสนทนา[22]

การเป็นบล็อกเกอร์ของ BBC

ในช่วงปลายปี 2008 Aamer Ahmed Khan จากเว็บไซต์ บีบีซีอูรดู และเพื่อนร่วมงานของเขาได้คิดค้นวิธีใหม่ในทำข่าวของกลุ่มตอลิบานในเมืองสวาท ซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้น โดยในขณะนั้น มุลลาห์ ฟาซลุลลาห์ เป็นผู้นำกลุ่มก่อการร้ายตอลิบาน ได้ยึดครองหุบเขาสวาท และออกคำสั่งห้ามการดูโทรทัศน์ การฟังเพลง การศึกษาของเด็กผู้หญิง[23] และการไปออกไปซื้อของของผู้หญิง[24]

นักข่าวจากบีบีซีจึงตัดสินใจขอให้เด็กนักเรียนหญิงทำบล็อกเกี่ยวกับชืวิตของเธอโดยไม่ระบุชื่อ อับดุล ไห่ คาการ์ ผู้สื่อข่าวในเปศวาร์ ติดต่อกับ ไซอุดดิน ยูซาฟไซ ซึ่งเป็นครูโรงเรียนในท้องถิ่น แต่ไม่สามารถหานักเรียนที่เต็มใจทำเช่นนั้น แม้ว่าในตอนแรกเด็กสาวชื่อไอชา ตกลงที่จะเขียนไดอารี่ แต่หพ่อแม่ของเธอห้ามไม่ให้ทำเพราะกลัวการตอบโต้ของตอลิบาน จนสุดท้าย ไซอุดดิน แนะนำมะลาละห์ ลูกสาวของเขา ซึ่งในขณะนั้นอายุ 11 ปี[25] และเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1[26]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มะลาละห์ ยูซัฟซัย http://www.cnn.com/2012/10/11/world/asia/pakistan-... http://www.newyorker.com/online/blogs/newsdesk/201... http://thelede.blogs.nytimes.com/2012/10/09/my-sma... http://www.nytimes.com/video/2012/10/09/world/asia... http://world.time.com/2012/10/23/pakistani-heroine... http://www.washingtonpost.com/world/asia_pacific/t... http://www.youtube.com/watch?v=5THfRXtOBrc http://iwpr.net/report-news/young-journalist-inspi... http://childrenspeaceprize.org/2011/10/25/desmond-... http://www.malala.org